นอนพอแต่ยังเพลีย #ภาวะต่อมหมวกไตล้า เคยรู้สึกนอนเท่าไรก็ไม่พอบ้างไหม? หรือนอนครบ 8 ชั่วโมงแท้ๆ ตื่นมายังไม่อยากจะลุกจากเตียง แถมยังเพลียแสนเพลียอีกต่างหาก! คุณอาจสงสัยตัวเองว่าเป็นโรคขี้เกียจแน่ๆ หรือคงจะอายุมากขึ้นมั้ง แล้วถ้ามันไม่ใช่อย่างที่คุณคิดล่ะ! คุณอาจกำลังเข้าสู่ภัยเงียบกับ “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” ก็เป็นได้ อย่างนั้นมาดูสิว่าคุณเข้าข่ายอาการเสี่ยง การเกิดภาวะต่อมหมากไตล้าหรือไม่?
อ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา
แม้จะนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ก็ยังรู้สึกอ่อนเพลีย คุณจะรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา นอนไม่ค่อยหลับบ้าง ไม่อยากตื่นนอนบ้าง ถึงแม้จะนอนหลับมาอย่างเพียงพอ ในตอนกลางคืน และได้นอนในตอนกลางวันก็ตาม
ประจำเดือนผิดปกติ
ประจำเดือนผิดปกติ อาจส่งผลกระทบถึงฮอร์โมนเพศหญิง โดยตรง เช่น นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา
ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา อาจทำให้ขนร่วง ผมบาง ผมแห้งเสีย ผิวแห้ง บางคนอาจมีสีเปลี่ยน ใต้ตาคล้ำ
แพ้กลางวัน ตื่นตัวกลางคืน
แพ้กลางวัน ตื่นตัวกลางคืน ภาวะต่อมหมวกไตล้า คือการที่ร่างกายไม่สามารถรักษาระดับพลังงานให้เพียงพอ ต่อความต้องการได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาการล้าจะล้าไป จนถึงช่วงเย็น หลัง 6 โมงเย็นขึ้นไปจะรู้สึกว่าร่างกาย กระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวเต็มที่ สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สดชื่น เข้าใจทุกอย่าง อธิบายเรื่องยาก ๆ ได้อย่างง่ายดาย และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว และทำงานได้ดีในเวลาดึก ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
หายใจลำบาก ปัสสะวะบ่อย ปวดหลังช่วงล่าง
อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ หายใจลำบาก ปัสสาวะบ่อย ปวดหลังช่วงล่าง นิ้วมือชา อ่อนเพลียอย่างรุนแรง หรือแม้แต่น้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าคุณมีอาการ น่าสงสัยไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง ควรรีบเช็คร่างกายว่าเป็นโรคต่อมหมวกไตล้าหรือไม่ เพราะอาจส่งผลร้ายถึงชีวิต ไม่ควรละเลย
เบื่ออาหาร คลื่นใส้ น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
ติดการทานของหวาน หรือของเค็ม อาจมีการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ อยากของหวาน ของเค็ม เนื่องจากต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ซึ่งช่วยให้ไตควบคุมการขับถ่ายของเหลวและแร่ธาตุ เมื่อต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง ทำให้ร่างกายต้องการทานสิ่งต่าง ๆ เข้าไปทดแทน
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีอาการป่วยบ่อย
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจมีอาการป่วยบ่อย โรคต่อมหมวกไตล้า ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายต่อต้านเชื้อ แบคทีเรียได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เมื่อเป็นแล้วต้องใช้เวลารักษานานกว่าปกติ ซึ่งนับเป็นปัญหา ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาวะต่อมหมวกไตล้าเลยก็ว่าได้
มีภาวะความดันและโลหิตสูง
มีภาวะความดันโลหิตสูงและต่ำ ภาวะต่อมหมวกไตล้า สามารถทำให้เกิดการความดันโลหิตสูง และต่ำได้ ซึ่งภาวะต่อมหมวกไตล้าอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะได้ เมื่อเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว
วิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา
มีความกังวลใจและวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา ภาวะต่อมหมวกไตล้า ทำให้คอร์ติซอลลดต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้ อย่างที่ควรจะเป็น ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตา
WOW CLINIC (WOW Younger Center) ศูนย์ชะลอวัยใกล้หมอ ยินดีให้คำปรึกษาโดยมีคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด โดยคุณหมอเวชศาสตร์ชะลอวัย
บทความโดย นพ.ธีรทัศน์ สำเภาเงิน
แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพและแพทย์ประจำ WOW CLINIC