คลินิกรักษาฝ้า รักษาหลุมสิว เลเซอร์ปากชมพู กับประสบการณ์การรักษากว่า 10 ปี

Beauty is success

092-259-9517, 02-167-7288

11:00 – 20:00 น.
11:00 AM – 08:00 PM

เข้าใจเรื่องเมลาโทนินกันดีกว่า

WOW CLINIC

สารเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนระบบประสาทที่มีในร่างกายตามธรรมชาติ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Asron Lernner ในปีพ.ศ. 2501 โดยนำสารสกัดจากต่อมไพเนียลของวัวมาทำให้บริสุทธิ์โดยได้สารกลุ่มอินดอล (indole) ซึ่งมีผลต่อเมลานินบนผิวหนังของกบ ทำให้สีผิวจางลง และเนื่องจากสารที่สกัดจากต่อมพเนียลมีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน (serotonin) จึงเรียกสารอินดอล ซึ่งไปฟอกสีเมลานินนี้ว่าเมลาโทนิน

บทบาทและหน้าที่ของสารเมลาโทนิน

เมลาโทนินมีบทบาทที่สำคัญในการควบคุมและปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของร่างกาย เป็นที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลายในการช่วยให้นอนหลับและลดอาการเมาจากการบิน (jet lag) ซึ่งกลไกของเมลาโทนินในการทำให้นอนหลับเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนวัฎจักรประจำวัน และการทำให้ง่วงนอนซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับ จากการศึกษา พบว่า อาสาสมัครที่กินเมลาโทนินตอนกลางคืนนอนหลับได้เร็วขึ้น และไม่มีอาการเหนื่อยหรือง่วงซึมหลังจากตื่น

ส่วนการเมาเวลานั้นพบได้ในผู้ที่เดินทางโดยบินข้ามเขตเวลา และคนที่ทำงานผลัดกลางคืนซึ่งอาการเมาเวลานี้จะคล้ายกับอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่อดนอน คือ จะรู้สึกสับสน หลงลืม มึนศีรษะ และไม่สามารถหลับได้เมี่อต้องการจะหลับ เกิดจากการรบกวนวัฎจักรประจำวัน และร่างกายไม่สามารถปรับเวลาได้ เช่นระดับเมลาโทนินในร่างกายไม่สัมพันธ์กับเวลา ณ จุดหมายปลายทาง เป็นต้น ข้อมูลล่าสุดจาก Cochrane ซึ่งวิเคราะห์ 10 การศึกษาที่เกี่ยวข้อง พบว่าเมลาโทนินขนาด 0.5-5 มิลลิกรัม กินใกล้กับเวลานอนของจุดหมายปลายทาง (22.00-24.00 น.) สามารถลดอาการเมาเวลาจากการบินได้ โดยเชื่อว่ากลไกมาจากผลทำให้ง่วงนอนของเมลาโทนิน และการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบวัฎจักรประจำวันของร่างกาย

ผลของสารเมลาโทนิน

ผลของเมลาโทนินในการควบคุมระบบวัฏจักรประจำวันของร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับการนอนหลับ แต่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการด้านออกซิเดชัน รวมถึงกลไกการชราภาพของร่างกาย โดยมีรายงานทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองว่าเมลาโทนนินสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดวัน และลดการถูกทำลายของเซลล์ได้ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้มีการศึกษาการใช้เมลาโทนินในการรักษาโรคต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสัน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง บทความนี้รวบรวมความรู้ปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้เมลาโทนินในผู้ป่วยมะเร็ง

การสร้างเมลานินของร่างกาย

เมลาโทนินหรือ N-acetyl-5-methoxy tryptamine สร้างและหลั่งจากต่อมไพเนียลซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งที่อยู่กึ่งกลางสมอง ในผู้ใหญ่มีขนาดยาวประมาณ 5-10 มม. การหลังเมลาโทนินถูกกระตุ้นโดยความมืด และถูกยับยั้งโดยแสงสว่าง ซึ่งระดับของเมลาโทนินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามวัฎจักร ภายใน 24 ชั่วโมง โดยจะเริ่มสร้างเมลาโทนินในตอนกลางคืน ตั้งแต่เวลา 21.00-22.00 น. และถึงระดับสูงสุดเมื่อเวลา 02.00-04.00 น.แล้วจะลดลงเรื่อยๆจนกระทั่ง 07.00-08.00น.ถึงหยุดสร้าง

ระดับเมลาโทนินในกระแสเลือดในเวลากลางคืนจะแตกต่างกันในคนช่วงอายุต่าง ๆ ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน มีการหลังเมลาโทนินเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นและเริมเป็นวัฎจักร เมื่ออายุมากขึ้นและถึงระดับสูงสุดในช่วงอายุ 1-3ปี จากนั้นจะค่อย ๆ ลดต่ำลง โดยเฉพาะช่วงที่เข้าวัยรุ่นเมลาโทนินจะลดลงมาก ซึ่งเชื้อว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มพัฒนาการของระบบสืบพันธ์ของร่างกาย ในคนหนุ่มสาวจะพบระดับของเมลาโทนินเฉลี่ยสูงสุดในตอนกลางคืนประมาณ 60 พิโคกรัม/มล.ของ พลาสม่า


ปัจจุบันมีข้อมูลแสดงให้เห็นถึงระดับฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยพบว่าระพับเมลาโทนินในกระแสเลือดในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ของผู้สูงอายุมีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาว การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า การหลั่งเมลาโทนินลดลงอาจจะมีความสัมพันธ์กับกลไกการชราภาพ โดยเชื่อว่าเมลาโทนิน อาจจะชะลออัตราการเกิดความชราภาพผ่านกระบวนการกำจัดอนุมูลสระและการป้องกันการเกิด oxidative stress ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่กำลังมีการศึกษาในปัจจุบัน

ความปลอดภัยของเมลาโทนิน

เมลาโทนินถูกนำมาศึกษาวิจัยทางคลินิกอย่างจริงจังมากกว่า 40 ปี และมีรายงานความปลอดภัยในการใช้ที่ดีในทางคลินิก ทั้งในระดับเฉียบพลันและเรื้อรัง ไม่มีฤทธิ์เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมหรือก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่พบความเป็นพิษต่อหนู กระต่าย แมว และสุนัข แม้ในขนาดสูง 800 มก./กก. ส่วนการศึกษาในคนไม่พบอาการข้างเคียงในการใช้เมลาโทนินขนาด 1-300 มก. และไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง และไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงของการใช้เมลาโทนินสูงถึง 1 กรัม เป็นเวลา 30 วัน

อาการข้างเคียงของเมลาโทนินที่มีรายงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์สงบระงับ โดยเฉพาะการใช้ในเวลากลางวัน ซึ่งทำให้เกิดอาการสับสน อ่อนเพลีย และง่วงนอน อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่ที่ให้เมลาโทนินในเวลากลางคืน มักจะลดปัญหาจากอาการข้างเคียงดังกล่าว ส่วนอาการข้างเคียงทั่วไปอื่น ๆ ที่มีรายงานในการใช้เมลาโทนิน ได้แก่ อาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ผื่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ฝันร้าย

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานอาการข้างเคียงที่อันตรายในการใช้เมลาโทนินขนาดสูงในผู้ป่วยมะเร็งอย่างจำกัด และยังไม่ทราบข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของการใช้เมลาโทนินในระยะยาว จึงยังต้องมีการศึกษาและติดตามต่อไป

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงสารเมลาโทนิน

  • เด็ก
  • สตรีที่ตั้งครรภ์ และมารดาที่ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้ที่รุนแรง
  • ผู้หญิงที่มีความประสงค์จะตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ Melatonin ในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดผลในการยับยั้งการตกไข่ในผู้หญิงได้
  • ผู้ที่ทำงานกับเครื่องจักรกลที่มีความอันตราย เนื่องจากการใช้ Melatonin อาจทำให้เกิดการง่วงซึมได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปและมีการใช้ยานอนหลับ หรือสมุนไพรในการรักษาอาการ นอนไม่หลับ

https://www.gotoknow.org/posts/304967
จัดทำโดย นพ.ธีรทัศน์ สำเภาเงิน นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ชะลอวัย สำนักเวชศาสตร์ชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง